เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสคุณของพระองค์ด้วยโลกุตรธรรม 9
ประการ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยคุณนั้นนั่นแล จึงทรงประกอบสัจจวจนะ
ว่า อิทมฺปิ พุทฺเธ เป็นต้น ความของสัจจวจนะนั้น พึงทราบตามนัยที่
กล่าวมาก่อนแล้วนั่นแล แต่พึงประกอบความอย่างเดียวอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้า
พระองค์นั้นได้ตรัสรู้โลกุตรธรรมอันประเสริฐได้ด้วย ได้ประทานโลกุตรธรรม
ได้ด้วย ทรงนำมาซึ่งโลกุตรธรรมได้ด้วย ทรงแสดงโลกุตรธรรมได้ด้วย แม้
อันนี้ ก็เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า พวกอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาล
ก็พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่งพระคาถานี้แล.

พรรณนาคาถาว่า ขีณํ


พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยปริยัตติธรรมและโลกุตรธรรมแล้วตรัส
สัจจวจนะ มีพุทธรัตนะเป็นที่ตั้ง ด้วย 2 คาถาอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัย
คุณคือการบรรลุอนุปาทิเสสนิพพาน ของพระสาวกทั้งหลาย ซึ่งได้สดับปริยัตติ
ธรรมนั้น และปฏิบัติตามแนวที่ได้สดับมาแล้ว ได้บรรลุโลกุตรธรรมทั้ง 9
ประการ จึงทรงเริ่มตรัสสัจจวจนะ มีสังฆรัตนะเป็นที่ตั้งอีกว่า ขีณํ ปุราณํ.
ในสัจจวจนะนั้น บทว่า ขีณํ ได้แก่ ตัดขาด. บทว่า ปุราณํ แปลว่า
เก่า. บทว่า นวํ ได้แก่ ในบัดนี้ ที่กำลังเป็นไป คือปัจจุบัน. บทว่า
นตฺถิ สมฺภวํ ได้แก่ ความปรากฏ [เกิด] ไม่มี. บทว่า วิรตฺตจิตฺตา
ได้แก่ มีจิตปราศจากราคะ. บทว่า อายติเก ภวสฺมึ ได้แก่ ในภพใหม่
ในอนาคตกาล. บทว่า เต ได้แก่ ภิกษุขีณาสพที่สิ้นกรรมภพเก่า ไม่มี
กรรมภพใหม่ แสะมีจิตปราศจากกำหนัดในภพต่อไป. บทว่า ขีณพีชา
ได้แก่ ผู้มีพืชถูกถอนแล้ว. บทว่า อวิรุฬฺหิฉนฺทา ได้แก่ ผู้เว้นจากฉันทะ
ที่งอกได้. บทว่า นิพฺพนฺติ ได้แก่ สิ้นไป. บทว่า ธีรา ได้แก่ ผู้ถึง

พร้อมด้วยปัญญาชื่อ ธิติ. บทว่า ยถายมฺปทีโป แปลว่า เหมือนประทีป
ดวงนี้.
ท่านอธิบายไว้อย่างไร. ท่านอธิบายไว้ว่า กรรมนั้นใดของสัตว์ทั้งหลาย
เกิดแล้วดับไป เป็นกรรมเก่า เป็นอดีตกาล ย่อมยังไม่สิ้นไป เพราะสามารถ
นำมาซึ่งปฏิสนธิ เพราะละสิเนหะคือตัณหายังไม่ได้ กรรมเก่านั้น ของภิกษุ
ขีณาสพเหล่าใด ชื่อว่าสิ้นไป ก็เพราะไม่สามารถให้วิบากต่อไป ดุจพืชที่ไฟ
เผาแล้ว เพราะสิเนหะคือตัณหาเหือดแห้งไปด้วยพระอรหัตมรรค และกรรม
ใดของภิกษุขีณาสพเหล่าใด ที่เป็นไปในปัจจุบัน ด้วยอำนาจพุทธบูชาเป็นต้น
เรียกว่ากรรมใหม่. ก็กรรมใหม่นั้น ของภิกษุขีณาสพเหล่าใด ก็ไม่ก่อภพได้
เพราะไม่สามารถให้ผลต่อไป เหมือนดอกของต้นไม้ที่มีรากขาดแล้ว เพราะ
ละตัณหาได้นั่นเอง.
อนึ่ง ภิกษุขีณาสพเหล่าใดมีจิตหน่ายแล้วในภพต่อไป เพราะละตัณหา
ได้นั่นแหละ ภิกษุขีณาสพเหล่านั้น ชื่อว่ามีพืชสิ้นแล้ว เพราะปฏิสนธิวิญญาณ
ที่ท่านกล่าวไว้ในคำนี้ว่า กรรมคือนา วิญญาณคือพืช สิ้นไป เพราะสิ้นกรรม
นั่นเอง ฉันทะแม้อันใด ของความเกิด กล่าวคือ ภพใหม่ ได้มีมาแล้วแต่
กาลก่อน. ภิกษุขีณาสพทั้งหลาย ชื่อว่ามีฉันทะไม่งอก เพราะไม่เกิดในเวลา
จุติเหมือนแต่ก่อน เพราะฉันทะแม้อันนั้น ละได้แล้ว เพราะละสมุทัยนั่นเอง
ชื่อว่าปราชญ์เพราะถึงพร้อมด้วยธิติปัญญา ย่อมดับเหมือนประทีปดวงนี้ดับไป
ฉะนั้น เพราะจริมวิญญาณดับไป ย่อมล่วงทางแห่งบัญญัติเป็นต้นอย่างนี้ว่า
มีรูปหรือไม่มีรูปอีก.
ได้ยินว่า บรรดาประทีปหลายดวง ที่เขาตามไว้เพื่อบูชาเทวดาประจำ
เมืองในสมัยนั้น ประทีปดวงหนึ่งดับไปแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงชี้
ประทีปดวงนั้น จึงตรัสว่า ยถายมฺปทีโป เหมือนประทีปดวงนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสคุณ คือ การบรรลุอนุปาทิเสสนิพพาน
ของพระขีณาสพ ที่สดับปริยัตติธรรม ที่ตรัสด้วย 2 คาถาก่อนนั้น ทั้งปฏิบัติ
ตามแนวปริยัติธรรมที่สดับแล้ว บรรลุโลกุตรธรรมทั่ง 9 ประการ อย่างนี้
แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยคุณนั้นนั่นแล เมื่อทรงประกอบสัจจวจนะ มีสังฆรัตนะ
เป็นที่ตั้ง จึงทรงจบเทศนาว่า อิทมฺปิ สงเฆ เป็นต้น ความของสัจจวจนะ
นั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาก่อนแล้วนั่นแล. แต่พึงประกอบความอย่าง
เดียวอย่างนี้ว่า คุณชาตกล่าวคือพระนิพพานของภิกษุขีณาสพ โดยประการ
ตามที่กล่าวมาแล้ว แม้อันนี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์. พวกอมนุษย์
ในแสนโกฏิจักรวาล ก็พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่งพระคาถานี้แล.
จบเทศนา ความสวัสดีก็ได้มีแก่ราชสกุล. อุปัทวะทั้งปวงก็ระงับ
ไป สัตว์ 84,000 ก็ได้ตรัสรู้ธรรม.


พรรณนา 3 คาถาว่า ยานีธ เป็นต้น


ครั้งนั้น ท้าวสักกะเทวราช ทรงพระดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
อาศัยคุณพระรัตนตรัย ประกอบสัจจวจนะ ทรงทำความสวัสดีแก่ชาวนคร.
แม้ตัวเราก็พึงกล่าวบางอย่างอาศัยคุณพระรัตนตรัย เพื่อความสวัสดีแก่ชาวนคร
ดังนี้แล้วจึงตรัส 3 คาถาท้ายว่า ยานีธ ภูตานิ เป็นต้น. ใน. 3 คาถานั้น
เพราะเหตุที่พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่าตถาคต เพราะเสด็จมาอย่างที่คนทั้งหลาย
ต้องขวนขวายพากันมาเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก, เพราะเสด็จไปอย่างที่คน
เหล่านั้น จะพึงไป เพราะทรงรู้ทั่วอย่างที่คนเหล่านั้นจะพึงรู้ทั่ว, เพราะทรง
รู้อย่างที่คนเหล่านั้นจะพึงรู้, เพราะทรงประสบสิ่งที่มีที่เป็นอย่างนั้น อนึ่ง
เพราะเหตุที่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บูชาอย่าง.
เหลือเกิน ด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้น ที่เกิดภายนอก เป็นอุปกรณ์และที่